3.2.1 ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA และ IIA

3.2 ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่

3.2.1  ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA  และ IIA



1) การทำปฏิกิริยากับน้ำของโลหะหมู่ IA สามารถเขียนเป็นสมการทั่วไป ได้ดังนี้
2M(s)+2H2O(l) → 2MOH(aq)+H2(g) (เบส)
หรือ 2M(s)+2H2O(l) → 2M2+(aq)+2OH-(aq)+H2(g)(เบส)
เมื่อ M คือโลหะหมู่ IA เนื่องจากโลหะหมู่ IA ทุกชนิดทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วเกิดเบส (alkali ) ขึ้นจึงเรียกโลหะหมู่ IA ว่าโลหะแอลคาไล

สารประกอบของธาตุหมู่ IA
          ธาตุหมู่ IA มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาจึงไม่พบในรูปของธาตุอิสระแต่จะพบในรูปของสารประกอบต่าง ๆ มากมาย เช่น LiCl, NaCl, KCl, NaNO3 , KNO3 , NaHCO3 เป็นต้น
สารประกอบของธาตุหมู่ IA ที่พบมากที่สุด คือ สารประกอบของธาตุโซเดียม เช่น เกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ในน้ำทะเล

สมบัติบางประการของสารประกอบของธาตุหมู่ IA มีดังนี้


1. สารประกอบของโลหะหมู่ IA ละลายน้ำได้ดี
2. มีจุดเดือดและจุหลอมเหลวสูง เนื่องจากมีพันธะไอออนิก
3. เมื่อหลอมเหลวหรือละลายน้ำแล้วจะเป้นสารละลายที่นำไฟฟ้าได้
4. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IA เมื่อละลายน้ำเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นกลาง ส่วน สารประกอบออกไซด์ ซัลไฟด์ และไฮไดรด์ของธาตุหมู่ IA เมื่อละลายน้ำเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นเบส


ประโยชน์ของธาตุหมู่ IA
 Na และ K ใช้ถ่ายเทความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เพราะนำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดีรวมทั้งราคาไม่แพงCs ใช้ทำโฟโตเซลล์สำหรับเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
Na ใช้บรรจุในท่อพอลิเอทิลีน สำหรับใช้แทนสายเคเบิล และ เพราะโลหะโซเดียมมีน้ำหนักเบา
 ราคาถูกกว่า และประสิทธิภาพดีกว่าสารประกอบ ใช้ในการปรุงอาหาร ถนอมอาหาร 

2) ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IIA
ธาตุหมู่ IIA
ธาตุหมู่ IIA เรียกว่า โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (allaline earth metals) มี 6 ธาตุ คือ เบริลเลียม( Be)
แมกนีเซียม (Mg) แคลเซียม(Ca) สทรอนเซียม (Sr) แบเรียม(Ba) และเรเดียม(Ra)


สมบัติที่สำคัญของธาตุหมู่ IIA มีดังนี้


1. ทุกธาตุเป็นของแข็ง และมีความแข็งมากกว่าธาตุหมู่ IA เพราะมีความหนาแน่นมากกว่าธาตุหมู่
IA

2. ทุกธาตุเป็นโลหะ แต่มีความเป็นโลหะน้อยกว่าหมู่ IA เมื่อเปรียบเทียบในคาบเดียวกัน

3. นำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี แต่ไม่เท่ากับธาตุหมู่ IA ในคาบเดียวกัน
4. มีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 อิเล็กโทรเนกาติวิตี และค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนต่ำ แต่สูงกว่าธาตุหมู่ IA ในคาบเดียวกัน
5. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่าธาตุหมู่ IA ในคาบเดียวกันเพราะมีพันธะฏลหะที่แข็งแรงกว่า
6. เสียอิเล็กตรอนได้ง่ายทั้งในสภาวะแก๊สและในสารละลาย แต่ไม่ดีเท่ากับธาตุหมู่IA ในคาบเดียวกัน 
7. ธาตุหมู่ IIA เมื่อรวมตัวอโลหะได้สารประกอบไอออนิกซึ่งธาตุหมู่ IIA มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ+2 เท่านั้น เพราะให้ 2 อิเล็กตรอนแก่อโลหะ
8. เนื่องจากธาตุหมู่นี้จัดเป็นธาตุที่ว่องไว และความว่องไวเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ธาตุหมู่นี้จึงทำปฏิกิริยากับน้ำและสารอื่นได้หลายชนิด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ จากการศึกษาการจัดเรียงธาตุตามตารางธาตุ พบว่ามีการจัดเรียงตามเลขอะตอม (atomic number) หรือจำนวน โป...