3.4.2 สารประกอบของธาตุทรานซิชัน

3.4 ธาตุทรานซิชัน

3.4.2  สารประกอบของธาตุทรานซิชัน


สารเคมี เช่น KMnO4 และ CuSO4 เป็นสารประกอบของธาตุแทรนซิชัน สารประกอบของธาตุในกลุ่มนี้แตกต่างจากสารประกอบของโลหะในกลุ่ม A อย่างไร จากการศึกษาสารประกอบของโครเมียมและแมงกานีสจะได้ดังนี้จากผลการทดลอง ทำให้ทราบว่าโครเมียมและแมงกานีสมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า นอกจากนี้สารประกอบของทั้งโครเมียมและแมงกานีสที่มีเลขออกซิเดชันแตกต่างกันจะมีสีแตกต่างกันด้วย เช่นโครเมียมที่มีเลขออกซิเดชัน +2 และ +3 จะมีสีฟ้าและเขียวตามลำดับ ส่วนแมงกานีสที่มีเลขออกซิเดชัน+3 +6 และ +7 จะมีสีน้ำตาล สีเขียว และสีม่วงแดงตามลำดับ และจะพบว่าโครเมียมเกิดเป็นไอออนที่มีประจุได้ตั้งแต่ +1 ถึง +6 โดยที่การเกิดเป็น Cr+ อะตอมจะเสีย 1 อิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดก่อนคือ 4s เมื่อเกิดเป็นไอออนที่มีประจุสูงขึ้น อะตอมจะเสียอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นอิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงาน 3d การที่โครเมียมสามารถให้อิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่ถัดเข้าไปจากระดับพลังงานนอกสุดและเกิดเป็นไอออนที่เสถียร ทำให้โครเมียมมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า ธาตุแทรนซิชันอื่น ๆ ก็สามารถให้อิเล็กตรอนในลักษณะเดียวกับโครเมียมและมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าจึงเกิดสารประกอบได้หลายชนิด                            

ตารางแสดงสีของสารประกอบและไอออนของโครเมียมและแมงกานีสในน้ำ

สูตร
ชื่อ
สี
Cr2+
โครเมียม (II) ไอออน
น้ำเงิน
Cr3+
โครเมียม (III) ไอออน
เขียว
โครเมตไอออน
เหลือง
ไดโครเมตไอออน
ส้ม
Mn2+
แมงกานีส (II) ไอออน
ชมพูอ่อน
Mn(OH)3
แมงกานีส (III) ไฮดรอกไซด์
น้ำตาล
MnO2
แมงกานีส (IV) ออกไซด์
ดำ
แมงกาเนตไอออน
เขียว
เปอร์แมงกาเนตไอออน
ม่วงแดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ จากการศึกษาการจัดเรียงธาตุตามตารางธาตุ พบว่ามีการจัดเรียงตามเลขอะตอม (atomic number) หรือจำนวน โป...