3.4 ธาตุทรานซิชัน
3.4.3 สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน
สารประกอบของธาตุแทรนซิชันชนิดต่างๆ เช่น KMnO4 ประกอบด้วย K+ และ MnO4- ส่วน K3Fe(CN)6 ประกอบด้วย K+ และ Fe(CN)63- ทั้ง MnO4- และ Fe(CN)63- จัดเป็นไอออนเชิงซ้อนที่มาตุแทรนซิชันเป็นอะตอมกลางและยึดเหนี่ยวกับอะตอมหรือไอออนอื่นๆ ที่มาล้อมรอบด้วยพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ สารประกอบที่ประกอบด้วยไอออนเชิงซ้อนจัดเป็นสารประอบเชิงซ้อน ธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่จะเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสีต่างๆ จากการทดลองเมื่อเติมสารละลายแอมโมเนียเข้มข้นลงในสารละลายคอปเปอร์(II) ซัลเฟต จะเกิดตะกอนสีครามของเตตระแอมมีนคอปเปอร์ (II)ซัลเฟตมอนอไฮเดรต โดยมีสูตรเป็น Cu(NH3)4SO4*H2O ซึ่งแตกต่างจากสารตั้งต้นที่มีสีฟ้า เมื่อเก็บผลึกของ Cu(NH3)4SO4*H2O ไว้ 1 คืน สีของผลึกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวแกมฟ้า เนื่องจากผลึกนี้สลายตัวให้น้ำและแอมโมเนียออกมาอย่างละ 1 โมเลกุลเกิดเป็น Cu(NH3)3SO4
ถ้าพิจารณาเลขออกซิเดชันของทองแดงในสารประกอบทั้งสามชนิดจะพบว่ามีค่า +2 เท่ากัน แต่ชนิดและจำนวนโมเลกุลของสารที่มาล้อมรอบคอปเปอร์ (II) ไอออนแตกต่างกัน จากข้อมูลให้มีความรู้ว่าธาตุแทรนซิชันชนิดหนึ่งๆ อาจเกิดเป็นสารประกอบที่มาตุองค์ประกอบเหมือนกันได้มากกว่าหนึ่งชนิด สารประกอบแต่ละชนิดมีสีแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับเลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชัน ชนิดและจำนวนโมเลกุลหรือไอออนที่ล้อมรอบธาตุแทรนซิชันนั้น
ถ้าพิจารณาเลขออกซิเดชันของทองแดงในสารประกอบทั้งสามชนิดจะพบว่ามีค่า +2 เท่ากัน แต่ชนิดและจำนวนโมเลกุลของสารที่มาล้อมรอบคอปเปอร์ (II) ไอออนแตกต่างกัน จากข้อมูลให้มีความรู้ว่าธาตุแทรนซิชันชนิดหนึ่งๆ อาจเกิดเป็นสารประกอบที่มาตุองค์ประกอบเหมือนกันได้มากกว่าหนึ่งชนิด สารประกอบแต่ละชนิดมีสีแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับเลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชัน ชนิดและจำนวนโมเลกุลหรือไอออนที่ล้อมรอบธาตุแทรนซิชันนั้น
ตารางแสดงสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันบางชนิดและไอออนองค์ประกอบ
สารประกอบเชิงซ้อน
|
ไอออนบวก
|
ไอออนลบ
|
สีของสารประกอบ
|
KMnO4
|
K+
|
[MnO4]-
|
ม่วงแดง
|
K2MnO4
|
K+
|
[MnO4]2-
|
เขียว
|
PbCrO4
|
Pb2+
|
[CrO4]2+
|
เหลือง
|
K3[Fe(CN)6]
|
K+
|
[Fe(CN)6]3-
|
ส้มแดง
|
Cu[(NH3)4SO4}]
|
[Cu(NH3)4]2+
|
[SO4]2-
|
คราม
|
Cu[(H2O)5SO4]
|
[Cu(H2O)5]2+
|
[SO4]2-
|
น้ำเงิน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น